[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
 
04.08.63
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย นำเสนองานวิจัย“นวัตกรรมการจัดการสื่อสารภาพลักษณ์และชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย” ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ EuroMedia 2020
 
           สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย นำเสนอผลงานวิจัย นวัตกรรมการจัดการสื่อสารภาพลักษณ์และชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ EuroMedia 2020 โดย คุณณัฐบูรณ์ พรรัตนเจริญ กรรมการวิชาการ นวัตกรรม และต่างประเทศ ได้นำเสนองานวิจัย ในหัวข้อ “การพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมการจัดการสื่อสารภาพลักษณ์และชื่อเสียงหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย” (Development of The Causal Relationship Model for Innovative Communication Management on Image and Reputation of International Programs in Thai Universities) ในการประชุมวิชาการ EuroMedia 2020 ผ่านการประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Zoom โดยได้รับความสนใจจากนักวิชาการ และผู้สนใจจากหลายประเทศ เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้

          การประชุมวิชาการ EuroMedia 2020 หรืองาน The 7th European Conference on Media, Communication & Film (EuroMedia 2020) นี้ เป็นการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ จัดโดย The International Academic Forum (IAFOR) ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบัน IAFOR Research Centre, the Osaka School of International Public โดยมีศูนย์กลางในการประชุม ดังกล่าว ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร



          การวิจัย การพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมการจัดการสื่อสารภาพลักษณ์และชื่อเสียงหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมการจัดการสื่อสารภาพลักษณ์ชื่อเสียงหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงแบบบูรณาการด้วยวิธีการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานระหว่างข้อมูลทุติยภูมิ วิจัยเชิงคุณภาพ และวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมตอนปลาย จำนวน 580 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ความสอดคล้องโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแบบสมการเชิงโครงสร้าง (SEM) และสังเคราะห์ตัวแปรสาเหตุที่คาดว่าส่งผลทางตรงและทางอ้อม ผลการวิเคราะห์ พบว่า สมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเงื่อนไขในระดับการยอมรับทางสถิติ ที่ประกอบด้วยตัวแปรด้านการบริหารการจัดการ ลักษณะการจัดการ รูปแบบของหลักสูตร การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน ผ่านเครื่องมือด้านโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมส่งเสริมการศึกษา และการรับรู้ข่าวสารข้อมูลผ่านสื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อกิจกรรม เป็นไปตามเกณฑ์แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรง และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการ การสื่อสารการตลาด แต่ด้านการรับรู้ข่าวสารข้อมูลกลับมีอิทธิพลเชิงลบ

          ผลการวิจัย พบว่า ในการจัดการสื่อสารการภาพลักษณ์และชื่อเสียงหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัย นั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการสถาบัน การให้บริการและสนับสนุนความเป็นนานาชาติ พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง แล้วใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเพื่อสร้างการรับรู้ข่าวสารข้อมูลรักษาคงไว้ภาพลักษณ์ชื่อเสียงที่ดีและเป็นที่ยอมรับในสังคม อันเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ที่สนใจเลือกการศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยในประเทศไทย




 

[an error occurred while processing this directive]