[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
 
05.11.62
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมงานเสวนาและรายงานผลการศึกษาและแนวโน้มอาชีพประชาสัมพันธ์ในระดับสากล เพื่อจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ประชาสัมพันธ์
 
           ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย และ คุณเยาวลักษณ์ โหตรภวานนท์ อุปนายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมงานเสวนา รายงานผลการศึกษาและแนวโน้มอาชีพประชาสัมพันธ์ในระดับสากล ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) : สคช. หรือ Thailand Professional Qualification Institute (Public Organization) : TPQI ได้มอบหมายให้ สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการ นำเสนอผลงานผลการศึกษามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งนำเสนอผลการศึกษาและแนวโน้มอาชีพประชาสัมพันธ์ของประเทศไทยและต่างประเทศ รวม ๔ ประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และ สิงคโปร์ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบวิชาชีพ ประชาสัมพันธ์จากภาพราชการ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน นิสิต นักศึกษา ที่เกี่ยวข้อง ให้ความสนใจร่วมงาน ณ คอนเวนชั่นเซนเตอร์ ศูนย์ราชการ โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ บางส่วน ดังนี้





           อาจารย์ปรัชญ์ สง่างาม อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้นำเสนอผลการศึกษาและแนวโน้มอาชีพประชาสัมพันธ์ของต่างประเทศ เล่าถึง มาตรฐานอาชีพประชาสัมพันธ์ของอังกฤษ ซึ่งอังกฤษให้องค์กรเอกชนจัดทำและรับรอง “มาตรฐานอาชีพประชาสัมพันธ์” โดย องค์กรที่ออกมาตรฐานอาชีพของอังกฤษ เรียกว่า Standard Setting Organization หรือ SSO ส่วนหนึ่งของกระทรวงแรงงาน ตัวมาตรฐานอาชีพ เรียกว่า National Occupational Standards หรือ NOS โดยมีตัวสมรรถนะถึง ๒๓,๐๐๐ สมรรถนะ จัดเป็นกลุ่มอาชีพ ๙๐๐ อาชีพ รายละเอียด ประกอบด้วย “มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ” และ “มาตรฐานการปฏิบัติงาน” มีการระบุวันที่สร้าง / วันที่อนุมัติ / วันที่คาดว่าจะปรับปรุงใหม่ โดยฉบับปัจจุบันเป็นฉบับปี ๒๐๑๓. National Qualification Framework (NQF) หรือ กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ของอังกฤษแบ่งออกเป็น ๘ ระดับ โดยระดับ ๖ - ระดับ ๘ เป็นปริญญาตรี – ปริญญาเอกขึ้นไป ระดับ ๑ - ระดับ ๒ เป็นระดับมัธยมปลาย ส่วนทักษะทางด้านอาชีพ ระดับอาชีวศึกษาเริ่มตั้งแต่ ระดับที่ ๑ จนถึงระดับ ๗ โดยระดับ ๖ เทียบได้ปริญญาตรี สูงสุดเป็นระดับ ๗ เทียบได้ปริญญาโท หากเป็นระดับ ๘ สูงสุดเทียบเท่าระดับปริญญาเอก จะต้อง แก้ปัญหาที่กว้าง / ลึก มีความเชี่ยวชาญ



           NOS ดำเนินการมาตรฐานอาชีพ หรือ ที่เกี่ยวกับประชาสัมพันธ์ คือ INSTRUCTUS SKILLS เป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินการหลายอย่าง ทั้งออกมาตรฐาน อบรม และ ให้การรับรอง ซึ่งมาตรฐานอาชีพประชาสัมพันธ์เป็น ๑ ใน ๒๖ สาขาอาชีพที่ INSTRUCTUS SKILLS รับรอง ๑๒ สมรรถนะ ของ “มาตรฐานอาชีพประชาสัมพันธ์” อังกฤษ ประกอบด้วย สมรรถนะ ๑ การพัฒนาความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมขององค์กร สมรรถนะ ๒ การเข้าใจผู้ฟัง สมรรถนะ ๓ การสร้างการประชาสัมพันธ์กับองค์กรสมรรถนะ ๔ การทำแผนการประชาสัมพันธ์ สมรรถนะ ๕ การนำแผนประชาสัมพันธ์ไปใช้ สมรรถนะ ๖ การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย สมรรถนะ ๗ การมีส่วนร่วมกับองค์กรดด้านสื่อ สมรรถนะ ๘ การมีส่วนร่วมทางด้านช่องทางดิจิทัล สมรรถนะ ๙ การมีส่วนร่วมกับบุคคลภายในองค์กร สมรรถนะ ๑๐ การจัดการภาพลักษณ์ สมรรถนะ ๑๑ การจัดการภาวะวิกฤต และ สมรรถนะ ๑๒ การเฝ้าระวังและประเมินกิจกรรมด้านการประชาสัมพันธ์องค์กร



           คนที่จะใช้ “มาตรฐานอาชีพประชาสัมพันธ์ ๘ กลุ่ม” ได้แก่ ๑) Employers : ผู้ว่าจ้างใช้ในการตั้งมาตรฐานบุคลากร ๒) Job Seekers : คนหางานใช้ดูทักษะที่ตำแหน่งต้องการ ๓) Training : วางหลักสูตรการออกแบบ อบรมพัฒนาให้บริการอบรม ๔) Individuals : บุคคลทั่วไป ใช้ศึกษาทักษะของตน และเปรียบเทียบได้ ๕) Employees : ลูกจ้างสามารถเขียนอธิบายทักษะที่มี หรือเติมทักษะที่ขาด ๖) Student : นักเรียน นักศึกษาสามารถเตรียมตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมได้ ๗) Educational Organisation : ภาคการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการเรียน การสอน การอบรม ๘) HR professional : บุคลากรทางด้านทรัพยากรบุคคลใช้เป็นแนวทางในการเขียน คำอธิบายงานในการรับบุคลากร

           ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ สมานชื่น อาจารย์สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้นำเสนอผลการศึกษาและแนวโน้มอาชีพประชาสัมพันธ์ของต่างประเทศ กล่าวถึง การจัดทำมาตรฐานวิชาชีพของออสเตรเลียว่า ทุกอาชีพที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น ดังนั้นตัวอาชีพจะนำหน้าการศึกษาเสมอ เพื่อต้องการจะสร้างมาตรฐานในแต่ละอาชีพ ในแต่ละประเทศมีแนวคิดที่จะจัดกรอบ สร้างองค์ความรู้ในอาชีพนั้น ๆ เรียกว่า “มาตรฐานอาชีพ” ซึ่งในต่างประเทศมีการจัดทำมานานแล้ว ทั้งใน อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรเลีย สำหรับประเทศไทยมีการจัดทำมาตรฐานอาชีพเมื่อประมาณ ๔-๕ ปีที่ผ่านมา โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพที่เป็นสากล

           การจัดทำมาตรฐานวิชาชีพของไทย เริ่มจากการศึกษาประเทศที่เคยจัดทำมาก่อน เพื่อเป็นกรอบ / แนวทาง ซึ่งส่วนมากศึกษาจากออสเตรเลีย เพราะว่าทำค่อนข้างครบถ้วน สมบูรณ์ มีการแบ่งอาชีพอย่างชัดเจน ขณะนี้กำลังจัดทำมาตรฐานวิชาชีพด้านประชาสัมพันธ์ มีการศึกษาว่าออสเตรเลียดำเนินการอย่างไร และจะนำองค์ความรู้จากออสเตรเลียมาเป็นต้นทางการศึกษาต่อไป โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม / จุดอ่อน จุดแข็ง / ธุรกิจปัจจุบัน ของประเทศไทย ก่อนที่จะสร้างมาตรฐานอาชีพที่เหมาะสมกับประเทศไทย สามารถนำมาใช้ได้กับคนในอาชีพ เพื่อยกระดับและสร้างความเป็นมาตรฐานมาตรฐานวิชาชีพประชาสัมพันธ์ของออสเตรเลียเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ไทยควรนำมาปรับใช้

           อาจารย์เพทาย เชื้อพูล อาจารย์สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้นำเสนอผลการศึกษาและแนวโน้มอาชีพประชาสัมพันธ์ของต่างประเทศ เล่าถึง ความแตกต่างในสาขาอาชีพประชาสัมพันธ์ของไทยกับสิงคโปร์ แม้ว่าไทยและสิงคโปร์จะเป็นประเทศอาเซียนร่วมกัน แต่ในสาขาอาชีพประชาสัมพันธ์สิงค์โปร์มี มาตรฐานอาชีพไปแล้ว โดยจัดทำครบถ้วนสมบูรณ์ ในประเทศไทยยังมีความสับสนอยู่ในระหว่าง ธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สิงคโปร์ไม่มีข้อจำกัดด้านการศึกษา สิงค์โปร์ ใช้ประสบการณ์ ไม่จำเป็นต้องจบตรงสาย แต่ถ้ามีความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ ทางด้านสื่อสารมวลชน / ด้านประชาสัมพันธ์ สามารถทำงานนี้ได้โดยไปขอรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ประเทศไทยงานสาขาวิชาชีพประชาสัมพันธ์ยังต้องจบจากนิเทศศาสตร์ / สื่อสารมวลชน การช่วยกันจัดทำสร้าง “มาตรฐานวิชาชีพประชาสัมพันธ์” ให้กับประเทศไทย ให้ช่องว่างระหว่างการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมลดลง และอีกไม่นานไทยคงมี “มาตรฐานวิชาชีพประชาสัมพันธ์” ที่เทียบเคียงประเทศสิงคโปร์ ถ้าไทยมีมาตรฐานวิชาชีพผู้ที่ทำงานในสาขาประชาสัมพันธ์สามารถเติบโตไปทำงานในสากลได้




 

 

 

 

[an error occurred while processing this directive]