[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
 
29.09.58
 
สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมงานมอบรางวัลให้กับเยาวชน จากการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ : World Skills 2015
 
        ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ร่วมงานมอบรางวัลให้กับเยาวชนจากการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ (World Skills Competition Sao Paulu 2015) โดยมี คุณนคร ศิลปะอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงาน ดังกล่าว ณ คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร

        มาตรฐานฝีมือนับเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทักษะ ความสามารถในการประกอบอาชีพทั่วโลก การแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนเห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพ และสร้างแรงจูงใจทางด้านอาชีวศึกษาแขนงต่างๆ ให้พัฒนาทักษะในระดับสากล โดยการแข่งขันมีจำนวนทั้งหมด 23 สาขาอาชีพมาอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ ได้จัดขึ้น ณ เมืองเซาเปาโล สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล

        การแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ (World skills 2015) เป็นเวทีในการแข่งขันทักษะอาชีพระดับโลก เพื่อส่งเสริมทักษะฝีมือแรงงานของเยาวชนจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยจะจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนในแต่ละประเทศเข้าร่วมการแข่งขันฯ รวมถึงเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจากประเทศไทยเพื่อแข่งขันเวทีการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ หลังจากกลับมาจากการแข่งขัน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานได้จัดงานเลี้ยงรับรองพร้อมทั้งมอบรางวัลสนับสนุน เพื่อเป็นกำลังให้กับผู้ที่เดินทางไปร่วมแข่งขัน ไม่ว่าจะคว้ารางวัลในเวทีระดับโลกหรือไม่ก็ตาม และก็เป็นที่น่ายินดีว่าทักษะแรงงานของไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

        ในประเด็นนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า “การแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ถือเป็นสนามแข่งขันระดับโลก ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงศักยภาพด้านทักษะฝีมือ และความสามารถเฉพาะด้าน สู่สายตาประชาคมโลก ในส่วนของนโยบายรัฐบาลก็มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการมีงานทำ และเป็นแรงงานฝีมือ โดยการเร่งผลิตนักเรียน และนักศึกษาสายอาชีพมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะ ความเชี่ยวชาญ และสามารถต่อยอดการทำงานให้กับตลาดแรงงาน ซึ่งขณะนี้กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจ ที่สำคัญเมื่อเรียนจบแล้วยังสามารถเป็นเจ้าของกิจการ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และพึ่งพาตนเองได้ต่อไป อีกประการสำคัญคือ ประเทศใดที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีขีดความสามารถสูง ก็จะทำให้ประเทศนั้นมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงยิ่งขึ้น”

        ความรู้ความสามารถและความชำนาญในวิชาชีพนับเป็นเครื่องมือสำหรับรองรับการเติบโตทั้งในระบบการศึกษาและอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาวิธีการใหม่และนวัตกรรมใหม่ของการเรียนการสอนและการฝึกอบรมทักษะอาชีพ เชื่อมต่อจากการแข่งขันทักษะในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนผ่านโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่จะต้องใช้ในอนาคต ซึ่งเป็นความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงพัฒนาประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน มาตรฐานอาชีพที่เป็นสากล ต่อไป

 

 

 

 

[an error occurred while processing this directive]